วิธีระบบ

หลักและแนวคิดวิธีระบบ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา


ระบบคืออะไร


ระบบคืออะไร
..........ระบบ หมายถึงสิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากหน่วยย่อยหรือองค์ประกอบย่อย ที่จะต้องมีความสัมพันธ์และทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
..........ภายในระบบแต่ละระบบสามารถมองเป็น ระบบย่อย (Subsystem) ได้ซึ่งระบบย่อยเหล่านี้ถือว่าเป็นระบบด้วยเช่นกัน เพราะมีองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบที่สมบูรณ์ในตัวเอง เมื่อระบบย่อยหลาย ๆ ระบบรวมกันจะทำให้เกิดระบบใหญ่ขึ้น

..........ถ้าพิจารณาองค์กร ในรูปแบบของระบบการเรียนของโรงเรียน ระบบดังกล่าวจะประกอบด้วยระบบย่อยคือ ฝ่ายรับสมัคร ฝ่ายทะเบียน ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบุคลากร ฝ่ายวิชาการ ฝ่าย ต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร ในแต่ละฝ่ายอาจจะมีระบบย่อยได้อีก

การทำงานของระบบ

- Input : ปัจจัยนำเข้า เป็นการป้อนวัตถุดิบหรือข้อมูลต่างๆ การตั้งปัญหา การตั้งวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินงานในระบบ
- Process : กระบวนการ เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ป้อนทนำเข้าเพื่อดำเนินการ
- Control : การควบคุม เป็นการควบคุมและตรวจสอบเพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์อย่างมีคุณภาพ
- Output: ผลผลิต /ผลลัพธ์ เป็นผลผลิตที่ได้ออกมาภายหลังจากการดำเนินงานในขั้นของกระบวนการสิ้นสุดลงรวมถึงการประเมินผล
- Feedbck: ข้อมูลป้อนกลับ เป็นการนำเอาผลลัพธ์ประเมินนั้นมาพิจารณา ว่ามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง

ลักษณะของระบบที่ดี

1. มีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
2. มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย
3. มีการรักษาสภาพแวดล้อม
4. การแก้ไขตนเอง


ประเภทของระบบ
ถ้าจะกล่าวถึงประเภทของระบบเราสามารถจำแนกออกเป็นหลายประเภทขึ้นกับว่า เราสนใจคุณลักษณะอะไรของระบบนั้น ๆ ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะบางประเภทของระบบที่มีคุณลักษณะที่น่าสนใจดังนี้
ระบบเปิด
..........ระบบเปิด (open system) คือระบบที่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งพยายามปรับตัวเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในให้อยู่รอดได้ โดยทั่วไปแล้วองค์กรต่าง ๆ ถือว่าเป็นระบบย่อยของระบบธุรกิจทั้งหมด การทำงานขององค์กรต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบธุรกิจ ซึ่งถือว่าเป็นสภาพแวดล้อมภายนอกตาม เช่นระบบ การลงทะเบียน มีความสัมพันธ์ระบบอื่น ๆ ที่อยู่ภายนอกของระบบ ตั้งแต่การรับใบลงทะเบียนจากนักศึกษา ตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียน การชำระเงินค่าลงทะเบียน การทำตารางเรียนตารางสอน
ระบบปิด
..........ระบบปิด (close system) คือระบบที่ไม่ต้องสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การทดลองในห้องปฏิบัติการ หรือระบบที่ทีการควบคุมการปฏิบัติต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์

องค์ประกอบของระบบ
..........องค์ประกอบที่สำคัญของระบบมี 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนนำเข้า (input) ส่วนกระบวนการหรือ โพรเซส (processing) ส่วนผลลัพธ์ (output) และส่วนป้อนกลับ (feed-back)
..........ส่วนนำเข้า คือ ทรัพยากรหรือสิ่งที่จำเป็น เพื่อนำเข้าสู่ระบบแล้วก่อให้เกิดกระบวนการขึ้น
..........ส่วนกระบวนการ คือ ส่วนที่ทำหน้าที่แปรสภาพ หรือประมวลผล โดยอาศัยส่วนนำเข้าของระบบไป แปรสภาพเป็นผลลัพธ์ที่ต้อง
..........ส่วนผลลัพธ์ คือ ส่วนที่ต้องการจากระบบ ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของระบบส่วนป้อนกลับ คือ ส่วนที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของกระบวนการ เพื่อให้การทำงานของระบบบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยนำเอาส่วนผลลัพธ์ไปเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จากนั้นนำผลที่ได้จากการเปรียบเทียบไปปรับปรุงส่วนนำเข้าหรือกระบวนการการคิดอย่างมีระบบ

การคิดอย่างมีระบบ หมายถึง การพิจารณาปฎิสัมพันธ์ ที่เกี่ยวข้องระหว่างการดำเนินงานและองค์ประกอบทั้งหลายในระบบมิใช่มองเพียงจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น

วิธีระบบ (System Approach)

..........วิธีระบบ (System approach) ได้มีการกล่าวถึงอ้างอิงกันมาก จริงๆ แล้วเกือบจะทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดตามธรรมชาติจะถือว่าประกอบด้วยระบบอยู่ทั้งนั้น จักรวาลจัดเป็นระบบที่ใหญ่ที่สุดที่เรารู้จัก มนุษย์เป็นระบบย่อยลงมา ระบบแต่ละระบบมักจะประกอบด้วยระบบย่อย (subsystem ) และแต่ละระบบย่อยก็ยังอาจจะประกอบด้วยระบบย่อยลงไปอีก
..........วิธีระบบ คือแนวทางในการพิจารณาและแก้ไขปัญหา ซึ่งแนวทางดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด ( Allen, Joseph and Lientz, Bennet p. 1978)

.........ในปัจจุบันจะพบว่า วิธีระบบนั้นถูกนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง วิธีระบบจะเป็นตัวจัดโครงร่าง (Skeleton) และกรอบของงานเพื่อให้ง่ายต่อการที่จะนำเทคนิค วิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ มาใช้ การทำงานของวิธีระบบจะเป็นการทำงานตามขั้นตอน (step by step) ตามแนวของตรรกศาสตร์ ผู้ใช้วิธีระบบจะต้องเชื่อว่า “ ระบบ” ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน (interrelated parts) และเชื่อว่าประสิทธิผล (effectiveness) ของระบบนั้นจะต้องดูจากผลการทำงานของระบบมิได้ดูจากการทำงานของระบบย่อยแต่ละระบบ
ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในระบบและค้นหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระบบย่อย โดยนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า


วิธีระบบ (System Approach) จะต้องมี ดังต่อไปนี้
1. องค์ประกอบ
2. องค์ประกอบนั้นต้องมีความสัมพันธ์ มีการโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์กันและ
3. ระบบต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ
องค์ประกอบของวิธีระบบ



เวิธีระบบ (System Approach) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ
1. ข้อมูลวัตถุดิบหรือตัวป้อน (Input)
2. กระบวนการ (Process)
3. ผลผลิต (Output)
4. การตรวจผลย้อนกลับ (Feedback)

1. ข้อมูลวัตถุดิบหรือตัวป้อน (Input) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่างๆ เช่น ในระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน อาจได้แก่ ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร ตารางสอน วิธีการสอน เป็นต้น ถ้าในเรื่องระบบหายใจ อาจได้แก่ จมูก ปอด กระบังลม อากาศ เป็นต้น

2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน (Process) หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น การสอนของครู หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น

3. ผลผลิต หรือการประเมินผล (Output) หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น

4. การวิเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผลมาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

วิธีระบบที่ดี
..........ต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ถ้าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่า ข้อมูลหรือวัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพ ในทางตรงข้ามถ้าระบบใดมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลหรือวัตถุดิบที่ไปใช้ ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ

ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ
1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น ๆ
2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อยๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหา อันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ
5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน


การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)

..........การวิเคราะห์ระบบเป็นการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้โดยพิจารณาถึงความสัมพันธ์ต่างๆ ขององค์ประกอบทั้งหลายภายในระบบ เพื่อตรวจสอบโครงสร้าง ขั้นตอนการดำเนินงานของระบบและเป็นประโยชน์ต่อการนำไปเป็นหลักการในทางปฏิบัติ
ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ มีดังนี้
ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา (Identify Problem) เป็นการรวบรวมสิ่งที่เป็นปัญหาและต้องศึกษาโดยละเอียดว่าสิ่งใดคือปัญหาที่แท้จริง
ขั้นที่ 2 กำหนดขอบข่ายของปัญหา (Define Problem) เมื่อปัญหาที่รวบรวมมา มีมากมาย จึงต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าในการแก้ปัญหาครั้งนี้จะแก้ปัญหาใดบ้าง
ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ปัญหา (Analysis Problem) เป็นการพิจารณาถึงสภาพของปัญหา ข้อจำกัดและทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่เหมาะสมกับสถานการณ์และ สิ่งแวดล้อมในการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 4 กำหนดแนวทางแก้ปัญหา (Generate Alternative Solutions) เป็น การพิจารณาหาแนวทางแก้ปัญหาโดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ ซึ่งอาจมีหลายวิธี
ขั้นที่ 5 เลือกแนวทางแก้ปัญหา (Select Best Solution) เป็นการตัดสินใจเลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดเพียงวิธีเดียว ซึ่งคิดว่าเหมาะสมและทำให้บรรลุเป้าหมาย
ขั้นที่ 6 วางแผนเตรียมการแก้ปัญหา (Design Action Program) เป็นการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการตามแนวทางการแก้ปัญหาที่กำหนดไว้
ขั้นที่ 7 นำไปทดลองกับกลุ่มย่อย (Implement Program) เป็นการนำวิธีการแก้ปัญหาไปทดลองใช้กับกลุ่มย่อย หรือสถานการณ์ตัวอย่าง เพื่อเป็นข้อมูลนำไปใช้ ในการประเมินผล
ขั้นที่ 8ควบคุมตรวจสอบ (Monitor Program) เป็นการนำข้อมูลที่ได้จาก การทดลองมาประเมินผลหาข้อบกพร่อง เพื่อการปรับปรุงและนำไปเป็นแนวทางการแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
การพัฒนาระบบ
1. การกำหนดภาพรวมสร้างภาพขึ้นในสมอง
2. รวบรวมข้อมูลเพื่อกำหนดจุดมุ่งหมาย
3. กำหนดคุณลักษณะ
4. ศึกษา กำหนดองค์ประกอบต่างๆ
5. กำหนดหน้าที่ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ
6. กำหนดกลไกการทำงาน กลไกการควบคุม เพื่อให้ได้ตามจุดมุ่งหมาย
7. ศึกษาสภาพแวดล้อม

..........ขอบเขตและสภาพแวดล้อมของระบบ (boundary and environment) ส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในระบบเรียกว่า สภาพแวดล้อม (environment) ซึ่งขอบเขตที่แบ่งระหว่างระบบและสภาพแวดล้อมเรียกว่า ขอบเขตของระบบ (system boundary) การกำหนดขอบเขตของระบบนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญในการวิเคราะห์ระบบ ส่วนการกำหนดว่าขอบเขตของระบบนั้น ควรจะเป็นอย่างไรอาจจะขึ้นอยู่กับงานที่ต้องการ หรือขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ระบบที่สนใจ ถ้ากำหนดขอบเขตไม่ดีอาจเกิดปัญหาขึ้นภายหลังได้

..........ระบบ ต้องมีขอบเขต(boundary)ของระบบ เพื่อความเข้าขอบเขตของระบบ ยกตัวอย่างเช่นระบบร่างกายมนุษย์ มีขอบเขต คือ ส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกร่างกาย เช่น ผิวหนัง ผม เล็บ

..........จากความรู้เรื่องระบบ นี้ ทำให้นักวิเคราะห์ระบบ ทราบความหมาย และขอบเขตของระบบไปเพื่อเป็นพื้นฐานเรื่องวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศเทศต่อไป เพราะในองค์กร ปัจจุบัน มีการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารอย่างแพร่หลาย


ภาพระบบการจัดการเรียนการสอน (LMS: Learning Management System)
ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ